ความรู้พื้นฐานทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ การเขียนโปรแกรม Arduino และ หุ่นยนต์เบื้องต้น ที่เคยลงไว้แล้ว
นำมาปรับปรุง ในเนื้อหาที่เพิ่มขึ้น
สามารถติดตามได้ในส่วนนี้ ครับ


ตอนที่ 86 7 เซ็กเม้น หลัก I2C


ในตอนนี้จะมาใช้งาน 7 เซ็กเม้น 4 หลัก แบบ I2C กันครับ

ตำแหน่งขาการใช้งาน


ตำแหน่งขาใช้งาน เมื่อมองจากด้านบน
CLK เป็น สัญญาณนาฬิกา
DIO เป็นการส่งข้อมูล

การต่อวงจรทอสอบ


ต่อวงจรตามรูป

 

ติดตั้ง TM1637 TimyDisplay

ในที่นี้ผมจะติดตั้ง library ซึีงมีมาให้ใน Arduino และยังมี code ตัวอย่างอีกด้วย

 


เลือกที่ sketch >> Include Library >>Manage Libraries




ในช่องค้นหา พิมพ์คำว่า TM1637 แล้วรอ..ซักคู่


เลื่อนหาคำว่า TM1637 TimyDisplay Versionล่าสุด แล้ว Install


เข้าไปที่ Include Library อีกครั้ง แล้วเลือกไปที่ TM1637 TimyDisplay

 

code ที่ใช้ในการ ทดสอบ

ที่ More info จะมี code ตัวอย่างสำหรับ Library นี้
ไว้ให้ศึกษามากมาย ยังไงก็ลองเข้าไปเปิดดูได้ครับ



ภายในจะมีเนื้อหาการใช้งานและชุดคำสั่งต่างๆ
code ตัวอย่างแบบง่าย สามารถนำมาทดสอบการทำงานได้

#include <Arduino.h>
#include <TM1637TinyDisplay.h>

// Define Digital Pins
#define CLK 2
#define DIO 3

// Instantiate TM1637TinyDisplay Class
TM1637TinyDisplay display(CLK, DIO);

void setup() {
// Initialize Display
display.begin();
}

void loop() {
// Say Hello
display.showString("HELLO");
delay(500);

// Clear Screen
display.clear();

// We can count!
for (int x = -100; x <= 100; x++) {
display.showNumber(x);
}

// Level indicator
for (int x = 0; x <= 100; x = x + 10) {
display.showLevel(x, false);
delay(20);
}
for (int x = 100; x >= 0; x = x - 10) {
display.showLevel(x, false);
delay(20);
}

// Split screen for temperature
display.showString("\xB0", 1, 3); // Degree Mark, length=1, position=3 (right)
for (int x = -90; x < 200; x++) {
display.showNumber(x, false, 3, 0); // Number, length=3, position=0 (left)
delay(10);
}

// The end
display.showString("End");
delay(1000);
}

 

 


** Library ของ TM1637 นั้นมีให้ เลือกใช้งานหลายตัวขึ้นอยู่กับ
ผู้ออกแบบจะออกแบบไว้อย่างไร ต้องศึกษาวิธีใช้งาน ตำสั่งต่างๆ
เหล่านั้นด้วยครับ

ส่วนของ TM1637 TimyDisplay ตัวนี้ ก็สามารถใช้งานได้ดีระดับหนึ่งครับ
และผมก็จะใช้ตัวนี้่ในการทำโครงงาน ต่างๆต่อไปครับ

หรือถ้ามี Library TM1637 ตัวอื้่นๆ กธจะได้เขียนเป็นบทความ ในโอกาศต่อไปครับ


 


ผลที่ได้จากการทดสอบ

คงไม่ยากเกินไปนะครับ ลองฝึกกันดูครับ
เขียนเมื่อ 7 มีค 66 / ติดตามตอนต่อไปครับ