ความรู้พื้นฐานทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ การเขียนโปรแกรม Arduino และ หุ่นยนต์เบื้องต้น ที่เคยลงไว้แล้ว
นำมาปรับปรุง ในเนื้อหาที่เพิ่มขึ้น
สามารถติดตามได้ในส่วนนี้ ครับ


ตอนที่ 87 รู้จักกับ ESP8266

               

มาทำความรู้จักกับ ESP 8266 กันครับว่า คืออะไร ใช้งานอะไรได้บ้าง
โครงงานพวกติดต่อกับ WI-FI หรือ เปิด-ปิด เรียกดูข้อมูล
ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตต้องตัวนี้เลย....


โครงงานเหล่านี้ พัฒนาด้วย ESP8266 ทั้งสิ้น

รู้จักกับ ESP8266 กันก่อน

ESP8266 เป็นชื่อของชิปไอซีบนบอร์ดของโมดูล
คือโมดูล WiFi ผลิตโดย Espressif Systems ถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุปกรณ์ IOT
 และ อุปกรณ์สมาร์ทโฮม ต่างๆ

ไอซี ESP8266 ในตัวเอง ไม่มีพื้นที่โปรแกรม จะต้องใช้ IC ภายนอกทำหน้าที่เก็บโปรแกรม
ที่ใช้การเชื่อมต่อผ่านโปรโตคอล SPI จึงทำให้ โมดูล ESP8266 มีพื้นที่
ในการเก็บข้อมูลสูง

ESP8266 ทำงานที่แรงดันไฟฟ้า 3.3V - 3.6V การนำไปใช้งานร่วมกับเซ็นเซอร์อื่นๆที่ใช้แรงดัน 5V
ต้องใช้วงจรแบ่งแรงดันมาช่วย เพื่อไม่ให้โมดูลพังเสียหาย กระแสที่โมดูลใช้งานสูงสุดคือ 200mA
ความถี่คริสตอล 40MHz ทำให้เมื่อนำไปใช้งานอุปกรณ์ที่ทำงานรวดเร็วตามความถี่ เช่น LCD
ทำให้การแสดงผลข้อมูลรวดเร็วกว่าไมโครคอนโทรลเลอร์ยอดนิยม Arduino มาก

รุ่น ของ ESP8266


ESP8266 มีอยู่ด้วยกันหลายรุ่น และมีรุ่นใหม่ๆ
ออกมาให้ได้ง่ายเรื่อยๆครับ แต่โดยพื้นฐานการใช้งานจะไม่ต่างกัน
มากนัก ความสะดวกในการใช้งานจะเพิ่มขึ้นด้วย


ESP-01
เป็นรุ่นเหมาะกับการเรียนรู้แรกๆ มีขาใช้งานน้อย
RX -- TX
TX ---RX
VCC --3.3-3.6V
GND --GND
RESET -- ต่อกับไฟ VCC เพื่อ pull up สัญญาณ โดยเมื่อต้องการรีเซต ให้ต่อกับไฟ GND
CH_PD-- ต้องต่อไฟ VCC เพื่อ pull up สัญญาณ ให้โมดูลทำงาน
GPIO0 – GND // กรณีต้องการเข้าโหมดโปรแกรม
GPIO0 – ไม่ต้องต่อ
GPIO2 – ไม่ต้องต่อ



ESP-03
จะคล้ายกับ รุ่น 01 มีขาใช้งานมากกว่า และ มีขาสำหรับต่อกับเสาอากาศ (WIFI_)ANT)
เพื่อรับสัญญาณได้ดีขึ้น


ESP-07
จะมีแผ่นเหล็กครอบกันสัญญาณรลกวน มีขาใช้งาน 16 ขา


ESP-12
จะเหมือรกัยรุ่น ESP-07 เพียงแต่จะใช้ลายทองแดงแทนเสาอากาศ
ทำให้รุ่นนี้เป็นที่นิยมนำมาใช้ในการพัฒนา

 

NodeMCU คืออะไร

NodeMCU เป็นแพลตฟอร์มหน่ึงที่ใชช้่วยในการสร้างโปรเจค Internet of Things (IoT)
ที่ประกอบไปด้วย Development Kit (ตัวบอร์ด) และ Firmware (Software บนบอร์ด)
NodeMCU version แรกน้นัก็เป็น ESP-12 แต่ใน version2 น้นัจะใชเ้ป็น ESP-12E
ซึ่งการใช้งานไม่แตกต่างกันมากนัก

NodeMCUน้นั มีลกัษณะคล้าย Arduino ตรงที่มีพอร์ต Input Output มาให้ในตัว
ทำให้สามารถติกต่อกับอุปผกรณ์ภายนอกได้ และได้มีก่ารพัฒนาจนใช้ภาาษ
C/C++ ได้ ทำให้สร้าง โครงงานต่างๆได้อย่างมากมาย

 


NodeMCU ทั้ง 3 รุ่น V1 V2 V3

V1 เรียกว่าเวอร์ชั่น V0.9 มี Module WiFi เบอร์ ESP-12 แต่ตัวนี้มีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับ
USB to Serial คือ Ch340 คนที่ใช้ window จะไม่มีปัญหา แต่ถ้าใช้ mac book คงหนักใจหน่อย

V2 เวอชั่นทางการคือ V1.0 พัฒนาปรับปรุงให้มีขนาดเล็ก รุ่น Module WiFi เบอร์ ESP-12E
และ USB to Serial คือ cp2102 ราคาจะแพงขึ้น่ใช้ mac book ได้

V3 ถูกผลิตจากบริษัท Lolin เหมือน น้ำ V1+V2
ใช้ ESP-12E เหมือนกับ V2 และใช้ USB to Serial คือ CH340 เหมือนกับ V1
มีขนาดใหญ่ และ มีปัญหากับ mac book

NodeMCU V3 ที่จะนำมาใช้ในการทดลอง

ที่ใช้รุ่นนี้ เพราะหาซื้อได้รุ่นนี้มา มีซ็อกเก็ตมาให้ด้วยเหมาะสำหรับการทดลอง

ESP 8266 NodeMCU V3

ESP 8266 NodeMCU V3

ซ็อกเก็ตพร้อมใช้งาน

ประกอบ NodeMCU เข้ากับซ็อกเก็ต

 

แสดงตำแหน่งขาใช้งาน

 

รายละเอียดและขาใช้งาน

คุณสมบัติต่างๆ ของบอร์ด NodeMCU V3

* ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP8266 ESP-12E
* ใช้ตัวประมวลผล Tensilica Xtensa Diamond 32-bit
* ตัวบอร์ดกินกระแสประมาณ 70mA (ขณะส่งสัญญาณแบบต่อเนื่อง ประมาณ 200mA) ขณะ Standby กินกระแสน้อยกว่า 200uA
- ขาอินเตอร์เฟสต่างๆ จะใช้แรงดัน 3.3V
* มีสายอากาศสำหรับ WiFi อยู่ภายในบอร์ด
* มาตรฐานการติดต่อสื่อสาร 802.11 b/g/n
* ความถี่ WiFi ที่ใช้ : 2.4GHz สนับสนุนระบบรักษาความปลอดภัยแบบ WPA / WPA2
* มีขาติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอล จำนวน 9 ขา ซึ่งสามารถกำหนดเป็น input หรือ output ก็ได้ (D0-D8 สามารถใช้เป็นขา GPIO, PWM, IIC เป็นต้น) โดยแต่ละขา * สามารถรับและจ่ายกระแสได้สูงสุด 12mA
* มีขาติดต่อสื่อสารแบบอนาล็อก จำนวน 1 ขา ซึ่งจะสามารถกำหนดเป็น input ได้เท่านั้น * มีความละเอียด 10 บิต (0-1023)
* สามารถกำหนด Transfer Rate ได้ตั้งแต่ 110-460,800bps
* สนับสนุนการติดต่อสื่อสารแบบ UART / GPIO
* ขนาดของ Flash Memory คือ 16 เมกกะไบท์ (โดยถูกจองด้วยโปรแกรม bootloader เป็นจำนวน 0.5 กิโลไบท์)
* ขนาดของ SRAM คือ 64 กิโลไบท์ และขนาดของ EEPROM คือ 512 ไบท์
* ขนาดบอร์ด ยาว 58 มิลลิเมตร กว้าง 31 มิลลิเมตร

 

ขา INPUT/OUTPUT แบบ DIGITAL มี 11 ขา กำหนดให้เป็นขา INPUT หรือขา OUTPUT ก็ได้
มีระดับแรงดัน 3.3 V แระแส 12 mA นอกจากนั้นในบางขายังสามารถกำหนดฟังก์ชั่นพิเศษได้

ขา INPUT แบบ ANALOG จะมีจำนวนขาใช้งาน 1 ขา (A0) ซึ่งในแต่ละขาจะมีระดับแรงดันสูงสุด 3.3 V
เมื่อเทียบกับกราวน์ และมีความละเอียดขนาด 10 บิต

ขา Vin เป็นขารับแหล่งจ่ายไฟจากภายนอก ถ้าทำการจ่ายไฟเข้าที่ขานี้ ไม่ควรทำการจ่ายไฟผ่านขั้ว USB

    ขา VU เป็นขาจ่ายไฟบวกขนาด 5 โวลท์ดีซี โดยแรงดัน 5 โวลท์ดีซีนี้ ได้มาจากขั้ว USB

    ขา Vout 3.3V เป็นขาจ่ายไฟบวกขนาด 3.3 โวลท์ดีซี กระแสสูงสุดประมาณ 500 มิลลิแอมป์

 


ตอนต่อไปจะเริ่มการติดตั้งและมาทดลองเขียนโรแกรมกันครับ

เขียนเมื่อ 7 มีค 66 / ติดตามตอนต่อไปครับ